ชมรมเจ้ามือหวย
 
*
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน พฤษภาคม 05, 2024, 04:11:59 pm


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น


ผลสลากกินแบ่งรัฐบาลงวด 16 กรกฎาคม 2565 รางวัลที่ 1 620405 รางวัล3ตัวหน้า 159 834 รางวัล3 ตัวท้าย 279 061 รางวัลเลขท้าย 2ตัว 53




เว็บโปรแกรมเจ้ามือหวย



ทำงานแบบมีหลักการ ไม่กล้าจนเกินตัว ไม่กลัวจนเกินเหตุ
ปณิธานของชมรมเจ้ามือหวย
ทางชมรมเจ้ามือหวย หวังแค่เพียงเพื่อนๆ อยู่กันแบบเป็นพี่เป็นน้อง จริงใจ ให้เกียรติซึ่งกันและกัน
ร่วมมือกันในการแบ่งปันข้อมูล มีอะไรดีๆ ก็นำเสนอแก่เพื่อนสมาชิก เพื่อเป็นแนวทางในการทำงาน
หรือระวังป้องกันให้ชาวชมรมได้อยู่ในวงการตลอดไปนานเท่านาน
ขอบคุณจากใจจริง
nongnai


หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: รวบรวมข่าวสารเกี่ยวกับมะเร็งปากมดลูกเพื่อประโยชน์กับผู้หญิงทุกท่าน  (อ่าน 1901 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
jeeho207Topic starter
สามัญ
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เข้ามาล่าสุด:เมษายน 16, 2015, 05:43:39 pm
กระทู้: 1

ระบบปฏิบัติการ::
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
บราวเซอร์::
Chrome 21.0.1180.83 Chrome 21.0.1180.83


เว็บไซต์
« เมื่อ: เมษายน 15, 2015, 01:41:08 am »

วัคซีนมะเร็งปากมดลูก
   ผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์แล้วล้วนมีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งปากมดลูกได้ เพราะมะเร็งปากมดลูกเกิดจากการติดเชื้อ HPV (Human papilloma viruses) ชนิดมีความเสี่ยงสูง (โดยพบสายพันธุ์ 16 และ18บ่อยที่สุด) จากการมีเพศสัมพันธ์ โดยเฉพาะผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์กับหลายคน เปลี่ยนคู่นอนบ่อย หรือมีเพศสัมพันธ์กับชายคนเดียวแต่ผู้ชายคนนั้นมีเพศสัมพันธ์กับหญิงอื่น (ถุงยางอนามัยสามารถป้องกันโรคเพศสัมพันธ์อื่นๆ ได้แต่ไม่สามารถป้องกันเชื้อ HPV ได้ 100%) ล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้มีโอกาสได้รับเชื้อไวรัส HPV ชนิดก่อมะเร็งเข้าสู่ร่างกาย และเชื้อนี้ใช้ระยะเวลาก่อมะเร็งช้า สามารถอยู่ในร่างกายได้นานกว่า 10 ปี โดยไม่แสดงอาการ  
   ผู้ที่สมควรฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก คือ ผู้หญิง โดยการป้องกันการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี ซึ่งเป็นเชื้อติดต่อทางเพศสัมพันธ์ จะมีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อได้รับการฉีดตั้งแต่ยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์เลย (ยังไม่ติดเชื้อ) ซึ่งจากการศึกษาจากประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่าเด็กหญิงเริ่มมีเพศสัมพันธ์ในอายุประมาณ 13 ปี
   ดังนั้น จึงแนะนำการฉีดวัคซีนเริ่มตั้งแต่อายุ 11-12 ปี หรือฉีดได้ตั้งแต่อายุ 9 ปี ส่วนในอายุ 13-26 ปี ก็น่าจะฉีด (ถึงแม้จะมีเพศสัมพันธ์แล้วก็ตาม) แต่อาจได้รับผลในการป้องกันโรคลดลงส่วนในอายุอื่นๆ การศึกษายังไปไม่ถึงในปัจจุบัน จึงยังไม่มีข้อมูลสนับสนุนว่า การฉีดวัคซีนได้ประโยชน์ในกลุ่มที่เหลือนี้ ส่วนการฉีดวัคซีนตัวนี้ในผู้ชายเพื่อป้องกันมะเร็งปากมดลูกในผู้หญิง กำลังอยู่ในการศึกษาเช่นกัน เชื้อ HPV จะมี 2 ประเภทคือ เชื้อแบบที่ไม่ก่อมะเร็งแต่ทำให้เกิดหูดหงอนไก่ และเชื้อแบบที่ก่อมะเร็งซึ่งมีหลายสายพันธ์ จึงมีการนำเชื้อสายพันธุ์ที่ก่อมะเร็งและพบบ่อย (ชนิดที่ 16, 18) มาทำวัคซีน HPV ป้องกันมะเร็งปากมดลูก
วัคซีน HPV สามารถฉีดได้ตั้งแต่ผู้หญิงที่ยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์  
   สามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้สูงกว่าและนานกว่ามีประสิทธิภาพดีป้องกันได้ 70% ช่วงอายุที่แนะนำคือ 9-26 ปี ส่วนผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์แล้ววัคซีนจะป้องกันการติดเชื้อสายพันธ์ที่ยังไม่เคยมีการติดมาก่อนและการติดเชื้อซ้ำในสายพันธุ์เดิม จึงยังได้ประโยชน์จากการป้องกันมะเร็งปากมดลูก การฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกฉีดทั้งหมด 3 เข็ม ครั้งที่ 2 หลังจากครั้งแรก 1-2 เดือน และครั้งที่ 3 หลังจากครั้งแรก 6 เดือน จากงานวิจัยปัจจุบันซึ่งตามมาประมาณ 10 ปี  ยังไม่แนะนำให้มีการฉีดซ้ำเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกัน
   วัคซีนตัวใหม่สามารถป้องกันเชื้อ HPV ได้ 2 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์ที่ 16 และ 18 โดยสามารถสร้างระดับภูมิคุ้มกันได้สูงกว่าที่เกิดโดยธรรมชาติถึง 11 เท่า และคงอยู่นานถึง 5 ปีครึ่ง (วัคซีนตัวเดิมรายงานไว้เพียง 5 ปี) นอกจากนี้ยังมีผลการวิจัยว่าใช้ได้ผลดีกับสตรีอายุ 10-55 ปีเลยทีเดียว (วัคซีนตัวเดิมแนะนำให้ฉีดในช่วงอายุ 9-26 ปี) และยังส่งผลช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน สายพันธุ์ 31 และ 45 ที่ก็เป็นตัวก่อมะเร็งเหมือนกันได้อีกด้วย ดังนั้นคนที่นิยมของใหม่ คงต้องอดใจรออีกหน่อย แต่ถ้านิยมของเดิม ฉีดวัคซีนตัวเดิม (ชนิด 4 สายพันธุ์) นอกจากป้องกันมะเร็งปากมดลูกแล้ว ยังได้แถมป้องกันหูดหงอนไก่อีกด้วย สามารถเลือกได้ตามต้องการ หรืออาจปรึกษาสูตินรีแพทย์ที่ท่านไว้วางใจก่อนตัดสินใจก็ได้
ข้อแนะนำ
   - ด้วยเหตุผลข้างต้น ปัจจุบันแนะนำให้ฉีดวัคซีนเอชพีวีในหญิงช่วง  อายุ 11-26 ปี (ก่อนมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก)
   - สำหรับการฉีดวัคซีนเอชพีวีในหญิงอายุมากกว่า 26 ปี หรือหญิงที่มีเพศสัมพันธ์แล้ว ก็ขึ้นอยู่กับการพิจารณาเป็นรายๆ ไป  
   - การฉีดวัคซีนเอชพีวีนี้ต้องฉีดทั้งหมด 3 เข็มด้วยกัน คือ ฉีดเข็มแรก และ 1-2 เดือนจากเข็มแรก และ 6 เดือนจากเข็มแรก
   - ไม่แนะนำให้ฉีดวัคซีนเอชพีวีในหญิงตั้งครรภ์หรือผู้ที่วางแผนจะตั้งครรภ์ภายใน 6 เดือนและผู้ชาย
   - ไม่แนะนำให้ต้องทำการตรวจหาว่ามีการติดเชื้อเอชพีวีก่อนฉีดวัคซีน
   - สตรีที่มีการตั้งครรภ์ ขณะที่ได้รับวัคซีนยังไม่ครบ 3 เข็ม ควรฉีดวัคซีนเข็มต่อไปหลังคลอด (ไม่แนะนำให้ฉีดขณะกำลังตั้งครรภ์)
   - ยังไม่มีข้อมูลยืนยันว่าการฉีดวัคซีนเอชพีวี จะมีผลต่อการมีบุตร การตั้งครรภ์ หรือผลเสียต่อทารกแต่อย่างใด
   - จากการติดตามตรวจภูมิคุ้มกันต่อเชื้อเอชพีวี (สายพันธุ์ที่อยู่ในวัคซีน) หลังฉีดวัคซีนเป็นเวลาประมาณ 6 ปี พบว่ายังมีภูมิคุ้มกันอยู่ในระดับที่สูงพอ จึงยังไม่มีข้อบ่งชี้ในการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น  
พญ.ณัฎฐินี ประชาศิลป์ชัย
สูตินรีแพทย์
เลิกอาย! ชวนหญิงไทยตรวจ VIA ลดเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก
   กรมอนามัย เผย สถิติผู้เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกในประเทศไทย ประมาณ 4,500 รายต่อปี พบรายใหม่ 8,000 คนต่อปี เหตุที่สตรีไทยไปตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกน้อย เพราะอาย แนะหญิงไทยตรวจคัดกรอง VIA รู้ผลทันที...
   เมื่อวันที่ 4 ส.ค. 57 ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า โรคมะเร็งปากมดลูก พบมากเป็นอันดับ 2 ในสตรีไทยและทั่วโลก ซึ่งในประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตประมาณ 4,500 รายต่อปี และพบผู้ป่วยรายใหม่ประมาณ 8,000 คนต่อปี สาเหตุโรคมะเร็งปากมดลูกส่วนใหญ่เกิดจากความอาย จึงไม่กล้าเข้ารับการตรวจคัดกรอง ซึ่งความจริงแล้ว หากตรวจพบในระยะแรก สามารถรักษาได้ทันที แต่ทางที่ดีที่สุดคือ การเข้ารับการตรวจคัดกรองเพื่อป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก เมื่อมีเพศสัมพันธ์แล้ว หรือเมื่ออายุ 30 ปีขึ้นไป วิธีการคัดกรองของกระทรวงสาธารณสุข มี 2 วิธี คือ 1) Pap smear เป็นวิธีที่ใช้กันมากที่สุด เพราะใช้เวลา 2 - 5 นาที และรู้ผลภายใน 2 – 4 สัปดาห์ 2) VIA เป็นวิธีที่ง่าย ค่าใช้จ่ายต่ำ รู้ผลทันที และกำลังเป็นที่นิยม โดยการใช้น้ำส้มสายชูชนิดเจือจางป้ายที่บริเวณปากมดลูกทิ้งไว้ 1 นาที น้ำส้มสายชูจะไปทำปฏิกิริยากับเนื้อเยื่อที่ผิดปกติของปากมดลูกให้เห็นเป็นฝ้าขาว ซึ่งสามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าและรักษาได้ทันทีด้วยการจี้เย็น (Cryotherapy)
   ดร.นพ.พรเทพ กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมากรมอนามัยดำเนินการเพื่อป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกโดยเพิ่มความครอบคลุมของการคัดกรอง เพื่อค้นหาสตรีที่ปากมดลูกมีความผิดปกติตั้งแต่ระยะเริ่มแรก หรือระยะก่อนเป็นมะเร็ง เพื่อเข้ารับการรักษาทันที จะได้ผลคุ้มค่ากว่าการรักษาเมื่อเป็นมะเร็ง โดยความร่วมมือกับราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และองค์การ JHPIEGO นำการตรวจคัดกรองด้วยวิธี VIA มาใช้เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกสำหรับสตรีไทย หรือการคัดกรองแบบผสมผสานคือ การตรวจคัดกรองด้วยวิธี VIA ทุก 5 ปี สำหรับสตรีอายุ 30 - 45 ปี ร่วมกับการคัดกรองวิธี Pap smear ทุก 5 ปี สำหรับสตรีอายุ 46 - 60 ปี ซึ่งเป็นวิธีที่คุ้มค่ามากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับการคัดกรองด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งเพียงอย่างเดียว และมีความคุ้มค่ามากกว่าการฉีดวัคซีน HPV ซึ่งยังมีราคาแพง
   "ปัจจุบันมีสตรีไทยเข้ารับบริการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก ด้วยวิธี VIA แล้วกว่า 600,000 ราย กรมอนามัยจึงขยายการดำเนินงานไปยังจังหวัดต่างๆ ได้แก่ จังหวัดร้อยเอ็ด หนองคาย อำนาจเจริญ ยโสธร มุกดาหาร เชียงใหม่ น่าน อุตรดิตถ์ ตาก เพชรบูรณ์ แม่ฮ่องสอน ลพบุรี สระแก้ว สระบุรี สมุทรปราการ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช กระบี่ ตรัง สตูล ชัยนาท พระนครศรีอยุธยา ภายใต้ความร่วมมือของศูนย์อนามัยเขต 12 แห่งต่อไป" อธิบดีกรมอนามัย กล่าว
บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.20 | SMF © 2006-2009, Simple Machines

Valid XHTML 1.0! Valid CSS! Dilber MC Theme by HarzeM
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.212 วินาที กับ 22 คำสั่ง